โรคเกาต์
กลุ่มเสี่ยง
ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์สูง ได้แก่
- โดยอัตราความเสี่ยงที่จะเป็น โรคเกาต์ พบว่าผู้ชายมีโอกาสเป็น โรคเกาต์ ได้มากกว่าผู้หญิง ประมาณร้อยละ 90 และมักเป็นเมื่ออายุสูงกว่า 40 ขึ้นไป สำหรับผู้หญิงมักจะเป็น โรคเกาต์ ช่วงหลังหมดประจำเดือนแล้ว
- ผู้ที่มีโรคร่วมซึ่งได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในโลหิตสูง
- ผู้ที่ดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- ผู้ที่รับประทานอาหารเนื้อสัตว์และอาหารทะเลปริมาณมากเป็นประจำ
- ผู้รับประทานยาบางชนิดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เช่น ยาขับปัสสาวะ
อาการโรคเก๊าท์
มีอาการปวดข้อ ข้อบวม บริเวณข้อมีลักษณะแดงร้อนและกดเจ็บ อาการปวดสามารถเกิดได้กับหลายข้อ ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ข้อนิ้วโป้งเท้า ข้อเท้า และข้อเข่า อาการปวดจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาจมีอาการไข้เล็กน้อยจนถึงไข้สูงอาการกำเริบแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 3-7 วัน เมื่อโรคดำเนินต่อไป การอักเสบที่เกิดขึ้นซ้ำๆจะทำให้ข้อบิดเบี้ยว เดินลำบากและอาจพิการได้
อาการร่วมอื่นๆ อาจพบนิ่วในไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย
ปัจจัยกระตุ้นโรคเก๊าท์
อาหารชนิดที่มีสารพิวรีนมาก เช่น สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ การดื่มเหล้าและเบียร์ ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตบางตัว ทำให้กรดยูริคสูงในเลือด
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าฑ์
1. ดื่มน้ำมากๆ (ประมาณ 2 ลิตรต่อวัน)
2. ควบคุมน้ำหนักตัว อย่าให้อ้วนขึ้นควรลดน้ำหนักทีละน้อยๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่าหักโหม
3. ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อยหลีกเลี่ยงอาหารทอดน้ำมันทุกชนิด
4. อาหารประเภทแป้ง ควรได้รับเพียงพอในรูปข้าวและผลไม้ต่างๆ ที่ไม่หวานจัด
5. ควรงด เบียร์ เหล้า ไวน์
6. น้ำชา กาแฟ รับประทานได้ แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไป
7. ไม่ควรรับประทานอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด หรือหวานจัด รวมทั้งเครื่องดื่มโกโก้ ช็อกโกแลต
8. ควรงดเว้นอาหารที่ให้พลังงานมากๆ เช่น ขนมหวานต่างๆ หรือ อาหารทอด
9. ควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมากๆ เช่น ผัก ผลไม้ จะช่วยในการลดน้ำหนักและไม่ทำให้ท้องผูก
10. ควรตรวจร่างกายเป็นประจำ เพราะมักจะพบว่า โรคเก๊าฑ์ เบาหวาน และความดันสูงเป็นร่วมกันเสมอ
อย่างไรก็ตาม โรคเกาต์ สามารถเกิดขึ้นได้ไม่เฉพาะผู้สูงอายุ แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกคน ดังนั้นระวังสักนิดก่อนจะบริโภคอะไร