ไขมันพอกตับ

ข้อมูลความรู้ ศูนย์โรคกระดูกและข้อ, ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง,ผ่าตัดผ่านกล้อง, ศัลยกรรมผ่านกล้อง,กระดูกและข้อ, ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉิน, ศูนย์สุขภาพ, โรงพยาบาลชั้นนำ, เวชศาสตร์การกีฬา, ตรวจสุขภาพ, ศัลยกรรมความงาม, พบแพทย์, เส้นเลือดขอด, เส้นฟอกไต

ไขมันพอกตับ

โพสต์โดย vichaivej_admin » จันทร์ 20 ม.ค. 2557 11:56 am

ไขมันพอกตับ...ภัยใกล้ตัวคนอ้วน
“ไขมันพอกตับ” หรือ Fatty Liver หลายคนคงนึกถึงไขมันหุ้มอยู่ภายนอกเนื้อตับ ซึ่งที่จริงแล้ว ไขมันมันแทรกเข้าไปในเนื้อตับเลย ปัจจุบันพบว่า มีคนเป็นไขมันพอกตับกันมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรม การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทานแต่อาหารมัน ๆ ไม่ค่อยออกกำลังกาย น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นทุกปี ส่วนใหญ่จะพบในผู้ที่มีรูปร่างอ้วน เป็นเบาหวาน และมีไขมันในเลือดสูง และในกลุ่มที่ดื่มแอลกอฮอล์
ภาวะไขมันพอกตับ แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่
ระยะแรก เป็นระยะมีไขมันก่อตัวอยู่ในเนื้อตับ ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดผลใด ๆ ไม่มีการอักเสบ หรือพังผืดเกิดขึ้นในตับ
ระยะที่สอง เป็นระยะที่เริ่มมีอาการอักเสบของตับ ซึ่งระยะนี้หากไม่ควบคุมดูแลให้ดี และปล่อยให้การอักเสบดำเนินไปเรื่อย ๆ เกินกว่า 6 เดือน จะกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
ระยะที่สาม การอักเสบรุนแรง ก่อให้เกิดพังผืดในตับ เซลล์ตับค่อย ๆ ถูกทำลายลง
ระยะที่สี่ เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก ตับไม่อาจทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป จนกลายเป็นตับแข็ง
เนื่องจาก โรคที่เกี่ยวกับตับนั้นเป็นโรคที่ค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ หากเกิดภาวะไขมันพอกตับขึ้น จึงต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าโรคจะดำเนินไปอีกขั้น เช่น หากมีปัญหาตับอักเสบติดต่อกันนานเกินกว่า 6 เดือน จัดว่าเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง และกว่าที่จะพัฒนาต่อไปเป็นโรคตับแข็งขั้นที่ 1 ก็อาจใช้เวลาเป็น 10 ปี แล้วจึงค่อยพัฒนาต่อไปเป็นขั้นที่ 2 และ 3 ซึ่งก็จะมีอาการบ่งชี้เพิ่มเติม คือ อาการตัวเหลือง ตาเหลือง มีน้ำในท้อง จนถึงระยะสุดท้าย คือ ความรู้สึกตัวลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของตับแย่ลง

ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้
• มีอาการวดแน่นชายโครงขวา
• มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ คล้ายอาหารไม่ย่อย
• อาจพบว่ามีเบาหวานและไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย
• ท้องผู้หรือท้องเสียเป็นประจำ
• อ่อมเพลียง่ายไม่มีแรง
• ในรายที่เป็นมาก จะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หรือดีซ่านร่วมด้วย
• ตรวจพบค่าเอนไซม์ตับผิดปกติ หรือสูงขึ้น

ดูแลตัวเองอย่างไร ให้ปลอดภัยจากไขมันพอกตับ
• การควบคุมน้ำหนักให้เข้าสู่เกณฑ์ปกติ
• การออกกำลังกาย
• การรักษาไขมันในเลือดให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
• หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา

อย่างไรก็ตาม ไขมันพอกตับ จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ตับทำงานผิดปกติและอาจลุกลามกลายเป็นตับแข็ง ในที่สุด แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้น คือ ไขมันพอกตับส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ แพทย์มักตรวจเจอโดยบังเอิญ ผู้ป่วยจึงไม่รู้ตัวและไม่ใส่ใจในการรักษา จนทำให้โรคดังกล่าวค่อย ๆ รุนแรงขึ้นเรื่อย ดังนั้น หากพบอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าจะเป็นไขมันพอกตับ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาได้ทันท่วงที
Webmaster
Vichaivej International Hospital Omnoi

Call: 02 431 0070 press 1150
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ศูนย์โรคกระดูกและข้อ, ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง,ผ่าตัดผ่านกล้อง, ศัลยกรรมผ่านกล้อง,กระดูกและข้อ, ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉิน, ศูนย์สุขภาพ, โรงพยาบาลชั้นนำ, เวชศาสตร์การกีฬา, ตรวจสุขภาพ, ศัลยกรรมความงาม, พบแพทย์, เส้นเลือดขอด, เส้นฟอกไต
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ภาพประจำตัวสมาชิก
vichaivej_admin
Administrator
 
โพสต์: 92
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 04 ม.ค. 2556 2:27 pm

ย้อนกลับไปยัง ความรู้สุขภาพกับวิชัยเวชฯ อ้อมน้อย

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน

cron