โรคเล็ปโตสไปโรซิส

ข้อมูลความรู้ ศูนย์โรคกระดูกและข้อ, ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง,ผ่าตัดผ่านกล้อง, ศัลยกรรมผ่านกล้อง,กระดูกและข้อ, ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉิน, ศูนย์สุขภาพ, โรงพยาบาลชั้นนำ, เวชศาสตร์การกีฬา, ตรวจสุขภาพ, ศัลยกรรมความงาม, พบแพทย์, เส้นเลือดขอด, เส้นฟอกไต

โรคเล็ปโตสไปโรซิส

โพสต์โดย vichaivej_admin » จันทร์ 20 ม.ค. 2557 11:51 am

โรคเล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis)
โรคไข้ฉี่หนู เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นเกลียว มีชื่อว่า (Leptospira) จึงเรียกชื่อโรคนี้ว่าเล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ ฯลฯ และที่สำคัญคือหนู ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค ได้แก่ ผู้ที่ลุยน้ำหรือแช่น้ำนานๆเดินลุยน้ำท่วม คนงานบ่อปลา ชาวสวน ชาวนา คนงานขุดลอกท่อระบายน้ำ
โรคแพร่ติดต่อได้อย่างไร
เชื้อโรคอยู่ในไตของสัตว์นำโรคและออกมาทางปัสสาวะของสัตว์ คนติดเชื้อจากการสัมผัสปัสสาวะสัตว์โดยตรงหรือติดทางอ้อมจากแหล่งน้ำ ทุ่งนา แอ่งน้ำ หรือน้ำท่วมขังที่ปนเปื้อนเชื้อ บางครั้งเกิดจากการกินน้ำหรืออาหารที่หนูปัสสาวะรด เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลรอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง หรือเข้าเยื่อบุของตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำนานจนอ่อนนุ่ม
รูปภาพ
อาการ
มักเริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อ 2-10 วัน
โดยเริ่มมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะน่องและโคนขาต่อมาอาจมีเยื่อบุตาแดง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ท้องเดิน
หากมีอาการที่กล่าวมาหลังจากไปแช่น้ำย่ำโคลนมา 2-26 วัน (เฉลี่ย 10 วัน)ควรนึกถึงโรคนี้ ไม่ควรหายามากินเองต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือหน่วยแพทย์ที่ออกมาให้บริการในพื้นที่
ถ้าไม่รีบรักษา บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน หรือตัวเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึม สับสนเนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเสียชีวิตได้

รักษาโรคฉี่หนูได้อย่างไร?
การรักษาหลักของโรคฉี่หนู คือ ให้ ยาปฏิชีวนะ เพื่อไปฆ่าเชื้อโรค ในผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการไม่รุนแรง จะให้ในรูปแบบยากิน ส่วนในผู้ป่วยกลุ่มอาการรุนแรง แพทย์มักให้นอนโรงพยาบาล และให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ
นอกจากนี้ จะให้การรักษาแบบประคับประคองไปร่วมกัน เช่น การเช็ดตัวเพื่อลดไข้ ให้ยาลดไข้ ให้ยาแก้ปวด ให้ยาแก้ไอ และแก้อาเจียน ในผู้ป่วยกลุ่มอาการรุนแรง ต้องมีการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรืออาจต้องให้เลือด และ/หรือเกล็ดเลือด หรือในกรณีที่มีไตวาย อาจต้องฟอกเลือด และถ้าเกิดภาวะหายใจล้มเหลว ก็ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้

การป้องกัน โรคฉี่หนู สามารถทำได้โดย
1. กำจัดหนูในบริเวณสถานที่อยู่อาศัย
2.หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคฉี่หนู รวมทั้งการสัมผัสปัสสาวะโค กระบือ หนู สุกร
3.หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำ หรือต้องลุยน้ำ ลุยโคลนเป็นเวลานาน ๆ
4.หลีกเลียงการว่ายน้ำที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่
5.ไม่ใช้น้ำ จากแหล่งที่ต้องสงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อโรค
6.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่วางทิ้งไว้ค้างคืน โดยไม่มีภาชนะปกปิด
7.เกษตรกร หรือคนทำงานปศุสัตว์ที่ต้องย่ำในน้ำ ควรสวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบูท ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อผ้า ให้เรียบร้อย
8. ทำความสะอาดร่างกายโดยเร็ว หากเดินลงไปในแหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ

ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล อ้อมน้อย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 1792 กด 2
Webmaster
Vichaivej International Hospital Omnoi

Call: 02 431 0070 press 1150
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ศูนย์โรคกระดูกและข้อ, ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง,ผ่าตัดผ่านกล้อง, ศัลยกรรมผ่านกล้อง,กระดูกและข้อ, ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉิน, ศูนย์สุขภาพ, โรงพยาบาลชั้นนำ, เวชศาสตร์การกีฬา, ตรวจสุขภาพ, ศัลยกรรมความงาม, พบแพทย์, เส้นเลือดขอด, เส้นฟอกไต
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ภาพประจำตัวสมาชิก
vichaivej_admin
Administrator
 
โพสต์: 92
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 04 ม.ค. 2556 2:27 pm

ย้อนกลับไปยัง ความรู้สุขภาพกับวิชัยเวชฯ อ้อมน้อย

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน

cron