UCEP Plus คืออะไร? ใช้สิทธิ UCEP อย่างไร?

ข้อมูลความรู้ ศูนย์โรคกระดูกและข้อ, ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง,ผ่าตัดผ่านกล้อง, ศัลยกรรมผ่านกล้อง,กระดูกและข้อ, ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉิน, ศูนย์สุขภาพ, โรงพยาบาลชั้นนำ, เวชศาสตร์การกีฬา, ตรวจสุขภาพ, ศัลยกรรมความงาม, พบแพทย์, เส้นเลือดขอด, เส้นฟอกไต

UCEP Plus คืออะไร? ใช้สิทธิ UCEP อย่างไร?

โพสต์โดย smanpruksa » จันทร์ 14 มี.ค. 2565 11:33 am

สถานการณ์โควิดในประเทศดูจะทวีความรุนแรงขึ้นหลังจากการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ที่มีการแพร่กระจายเชื้อไปในวงกว้าง จน ศคบ. ต้องมีการประกาศยกระดับมาตรการป้องกันเป็นระดับที่ 4 อีกครั้ง (ประกาศเตือนโควิดระดับ 4 ประชาชนทำอะไรได้-ไม่ได้ คลิกhttps://www.prachachat.net/general/news-869991)

ในช่วงที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้มีการปลดล็อกให้ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ได้รับสิทธิการรักษาฉุกเฉิน UCEP สามารถไปรักษาที่ รพ.เอกชน ที่ใดก็ได้ เพราะถือเป็นกรณีเร่งด่วนฉุกเฉินทั้งหมด แต่ปัจจุบันด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงมีการกำหนดเงื่อนไขของ UCEP สำหรับผู้ป่วยโควิด 19 หรือ UCEP Plus ขึ้นแทน รายละเอียดจะเป็นอย่างไร

[size=large]UCEP คืออะไร?[/size]

สิทธิ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) คือ สิทธิการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นโรงพยาบาลตามสิทธิที่ตัวเองมีอยู่จนพ้นวิกฤตและสามารถคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

เป็นที่ทราบกันดีว่า คนไทยทุกคนจะได้รับสิทธิประกันสุขภาพจากภาครัฐไม่สิทธิใดก็สิทธิหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ซึ่งสามารถเข้ารับการรักษาเมื่อเจ็บป่วยได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ตามสิทธินั้นๆ โดยในช่วงก่อนหน้านี้ผู้ติดเชื้อโควิด 19 จะได้รับสิทธิการรักษาฉุกเฉิน UCEP ด้วย เนื่องจากถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน

ในปัจจุบัน โรคโควิด 19 ได้ถูกยกเลิกจากสิทธิ UCEP ในกรณีที่ติดโควิด 19 แล้วไม่มีอาการ หรืออาการไม่รุนแรง แต่หากแพทย์วินิจฉัยให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลก็ยังสามารถได้รับการรักษาฟรีตามสิทธิประกันสุขภาพของภาครัฐที่แต่ละคนได้รับเหมือนกับโรคอื่น ๆ หรือหากมีอาการเข้าตามนิยามเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตก็ยังสามารถเข้ารับการรักษาฟรีตามสิทธิ UCEP ได้

[size=large]UCEP Plus คืออะไร?[/size]

UCEP พลัส คือ ระบบที่รองรับผู้ป่วยโควิด 19 ที่เข้าข่ายตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ทุกแห่ง ตามสิทธิ UCEP พลัสได้ กล่าวคือ

• ผู้ป่วยสีเขียวเข้ารับการรักษาที่บ้านหรือชุมชนเป็นหลัก (HI/CI First) โดยจะต้องติดตามประเมินอาการอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่า มีอาการเปลี่ยนแปลงเป็นเหลืองหรือแดง ก็จะส่งต่อเข้าสู่โรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาทันที
• ผู้ป่วยสีเขียวที่อาการของโรคโควิดไม่ได้รุนแรง แต่มีโรคร่วมที่ควบคุมไม่ได้ ให้สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่เช่นเดียวกัน ภายใต้นโยบาย UCEP พลัส
• ผู้ป่วยสีเหลืองที่เริ่มมีอาการปอดอักเสบทั้ง 2 ระดับ คือ ต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนแคนนูลา และต้องใช้ออกซิเจนแบบไฮโฟลว์ ให้เข้าสู่การรักษาได้ทุกที่ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน
• ผู้ป่วยสีแดง ที่เป็นผู้ป่วยวิกฤติในไอซียูหรือจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ บุคลากรจะมีเกณฑ์ในการประเมินอาการเพื่อนำเข้ารักษาในโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนด้วยเช่นกัน

[size=large]6 อาการเข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤต[/size]

นอกจาก อาการเฉพาะของโรคโควิด 19 ที่เข้าเกณฑ์วิกฤตฉุกเฉินแล้วยังมีอีก 6 อาการ ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กำหนดไว้เดิมอยู่แล้ว ได้แก่

1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง
3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น
4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หากพบอาการที่เข้าข่าย

[size=large]ขั้นตอนการใช้สิทธิ UCEP[/size]

1. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
2. โรงพยาบาลประเมินอาการและคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
3. ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
4. กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันทีแต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
5. กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตให้รีบประสานโรงพยาบาลตามสิทธิหากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

[size=large]ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและได้สิทธิ UCEP[/size]

หากจำเป็นจะต้องเรียกรถพยาบาล 1669 และเข้าข่ายได้รับสิทธิ UCEP หรือ สิทธิรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้าขั้นผู้ป่วยวิกฤติ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแม้จะถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลเอกชน มีเงื่อนไขและข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

1. ต้องเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน เข้าขั้นวิกฤตสีแดง มีอาการรุนแรงหนัก คือ เป็นบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยแบบกะทันหันจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตหากไม่ได้รับการปฏิบัติทางการแพทย์ในทันที หรืออาการของผู้ป่วยฉุกเฉินเริ่มรุนแรงขึ้น เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นอย่างฉับไว

2. มีการนำส่งโรงพยาบาลไม่ว่ารัฐหรือเอกชนโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือรถพยาบาลฉุกเฉิน 1669 แต่หากเป็นการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลจะถือว่าไม่ได้เป็นผู้ป่วยอาการหนัก เพราะที่โรงพยาบาลแรกรับจะมีแพทย์ที่สามารถรักษาอาการฉุกเฉินได้ประจำโรงพยาบาลอยู่แล้ว การย้ายโรงพยาบาลจึงไม่เข้าข่ายการย้ายแบบผู้ป่วยฉุกเฉิน UCEP หรือหากโรงพยาบาลปลายทางอยู่ในสิทธิประกันสังคมของผู้ป่วยอยู่แล้ว ก็จะเป็นการใช้สิทธิประกันสังคมแทน

3. แพทย์ที่โรงพยาบาลแรกรับจะเป็นผู้ประเมินผู้ป่วยในเบื้องต้น ว่าเข้าข่ายสิทธิการรักษา UCEP หรือไม่ โดยวัดจากสัญญาณชีพ (Vital signs) และการเปลี่ยนแปลงของอาการ หากเข้าเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินก็สามารถเข้ารับบริการตามระบบ UCEP ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมงหรือพ้นภาวะวิกฤต แต่ในกรณีที่ผลการประเมินไม่เข้าหลักเกณฑ์ ผู้ป่วยจะต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเอง

แม้สิทธิรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน UCEP จะรักษาฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ก็เต็มไปด้วยข้อจำกัดหลายอย่างเพื่อเป็นหลักประกันว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินที่แท้จริงตามการวินิจฉัยของแพทย์ในโรงพยาบาลแรกรับ ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนควรให้ความใส่ใจและศึกษารายละเอียดให้แน่ชัดก่อนใช้บริการทุกครั้ง

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสินมั่นคงประกันภัย ที่สุดของความคุ้มครองเรื่องสุขภาพ ที่ให้ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก นอนโรงพยาบาลเหมาจ่ายค่ารักษาตามจริงสูงสุด 500,000 บาท ช่วยให้คุณอุ่นใจในทุกปัญหาสุขภาพ สามารถใช้สิทธิร่วมกับสิทธิอื่น ๆ ของภาครัฐได้ สนใจรายละเอียด คลิกhttps://www.smk.co.th/producthealthdetail/7 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance
smanpruksa
 
โพสต์: 73
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 05 ก.พ. 2563 2:43 pm

ย้อนกลับไปยัง ความรู้สุขภาพกับวิชัยเวชฯ อ้อมน้อย

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน

cron