โรคหัวใจขาดเลือด

ข้อมูลความรู้ ศูนย์โรคกระดูกและข้อ, ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง,ผ่าตัดผ่านกล้อง, ศัลยกรรมผ่านกล้อง,กระดูกและข้อ, ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉิน, ศูนย์สุขภาพ, โรงพยาบาลชั้นนำ, เวชศาสตร์การกีฬา, ตรวจสุขภาพ, ศัลยกรรมความงาม, พบแพทย์, เส้นเลือดขอด, เส้นฟอกไต

โรคหัวใจขาดเลือด

โพสต์โดย vichaivej_admin » จันทร์ 20 ม.ค. 2557 11:53 am

โรคหัวใจขาดเลือด

โรคหัวใจขาดเลือด หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นเนื่องจาก หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีเลือดไปเลี้ยงลดลง หรือไม่มีเลยเป็นผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ผิดปกติ หากรุนแรง ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วนได้

การที่หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ เกิดการตีบหรือตันนั้น ส่วนใหญ่แล้วเกิดจาก หลอดเลือดแข็งตัวขึ้น เนื่องจากมีไขมันสะสม ในผนังด้านในของหลอดเลือด เป็นผลให้ทางที่เลือดไหลผ่านแคบลง เลือดไหลไม่สะดวก กล้ามเนื้อหัวใจจึงได้รับเลือดน้อยกว่าปกติ นอกจากนั้นยังอาจเกิดจากเกร็ดเลือดและลิ่มเลือดอุดตันอีกด้วย

มีอาการอย่างไร
อาการที่สำคัญ ของภาวะหัวใจขาดเลือด คือ อาการเจ็บ แน่นหน้าอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะออกแรง พักแล้วดีขึ้น โดยจะรู้สึกแน่น ๆ อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก หรือ ค่อนมาทางซ้าย เจ็บลึก ๆ หายใจไม่สะดวก อาจมีอาการ อื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตก ใจสั่น หน้ามืด บางรายนอกจาก แน่นบริเวณหน้าอกแล้ว ยังอาจเจ็บร้าวไปที่หัวไหล่ แขน หรือ คอ

ตรวจอย่างไร ถึงจะทราบว่าเป็นโรคนี้
แพทย์จะซักประวัติ โดยละเอียด ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ขณะพักนั้นบ่อยครั้งที่ให้ข้อมูลไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยโรค แพทย์จะแนะนำให้ตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ขณะออกกำลังเพิ่มเติม เรียกว่า "Exercise Stress Test" จากนั้น แพทย์จะนำข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้มาวิเคราะห์ดูว่ามีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากน้อยเพียงใด

ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคนี้
- เพศชาย หรือ เพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน
- ประวัติครอบครัวมีโรคนี้
- ความดันโลหิตสูง
- เบาหวาน
- ไขมันในเลือดสูง (โคเลสเตอรอลรวม หรือ โคเลสเตอรอล แอล ดี แอล ชนิดร้าย)
- ไขมันโคเลสเตอรอล เอช ดีแอล (ชนิดดี) ต่ำ
- การสูบบุหรี่
- ขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- บุคคลิกภาพชนิด เจ้าอารมณ์ โกรธ โมโห ง่าย เครียดเป็นประจำ
- นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมโรคนี้เช่นกัน เช่น ความอ้วน ไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง

รักษาอย่างไร
แนวทางการรักษาที่สำคัญมี 3 ประการ คือ รักษาด้วยยา รักษาโดยการขยายหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลผ่านได้มากขึ้น โดยอาจใช้ลูกโป่ง หรือ วิธีอื่น ๆ และสุดท้ายรักษา โดยการผ่าตัด ทำทางเบี่ยงให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจ เรียกว่าทำ "บายพาส" (Bypass Graft) โดยมากแล้วแพทย์จะเริ่มต้นการรักษาด้วยยาก่อนเสมอ เมื่อไม่ได้ผลดีด้วยยา แพทย์จะแนะนำให้ตรวจดูหลอดเลือดโดยตรง โดยการเอกซเรย์ เรียกว่า "การฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ" (Angiogram) จะได้ทราบว่าตีบหรือตันจุดใดบ้าง เพื่อเลือกวิธีรักษาให้เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย

จะป้องกันไม่ให้เป็นได้อย่างไร
สามารถลดโอกาสเสี่ยง ที่จะเป็นโรคนี้ โดยการหลีกเลี่ยงหรือ ลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น
- ไม่สูบบุหรี่
- ควบคุมความดันโลหิต และเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- บริโภคอาหารไขมันต่ำ หรือ รับประทานยาลดไขมันในรายที่จำเป็น
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ
- ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ
- ฝึกสมาธิ ทำจิตใจให้ผ่องใส


ที่มา : www.thaiclinic.com/mi.html
Webmaster
Vichaivej International Hospital Omnoi

Call: 02 431 0070 press 1150
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ศูนย์โรคกระดูกและข้อ, ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง,ผ่าตัดผ่านกล้อง, ศัลยกรรมผ่านกล้อง,กระดูกและข้อ, ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉิน, ศูนย์สุขภาพ, โรงพยาบาลชั้นนำ, เวชศาสตร์การกีฬา, ตรวจสุขภาพ, ศัลยกรรมความงาม, พบแพทย์, เส้นเลือดขอด, เส้นฟอกไต
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ภาพประจำตัวสมาชิก
vichaivej_admin
Administrator
 
โพสต์: 92
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 04 ม.ค. 2556 2:27 pm

ย้อนกลับไปยัง ความรู้สุขภาพกับวิชัยเวชฯ อ้อมน้อย

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน

cron