โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

ข้อมูลความรู้ ศูนย์โรคกระดูกและข้อ, ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง,ผ่าตัดผ่านกล้อง, ศัลยกรรมผ่านกล้อง,กระดูกและข้อ, ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉิน, ศูนย์สุขภาพ, โรงพยาบาลชั้นนำ, เวชศาสตร์การกีฬา, ตรวจสุขภาพ, ศัลยกรรมความงาม, พบแพทย์, เส้นเลือดขอด, เส้นฟอกไต

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

โพสต์โดย vichaivej_admin » จันทร์ 20 ม.ค. 2557 10:31 am

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer)
โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นเนื้องอกร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณต่อมลูกหมากของเพศชาย โดยเป็นผลมาจากการที่เซลล์ต่อมลูกหมากเติบโตขึ้นมาอย่างผิดปกติ
รูปภาพ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
1.อายุ โรคนี้ในคนสูงอายุส่วนใหญ่มากกว่า 65 ปี ในอายุต่ำกว่า 45 ปี พบน้อยมาก
2. ประวัติทางครอบครัว เมื่อสมาชิกเพศชายที่มีความสัมพันธ์โดยตรงในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็จะทำให้อัตราการเกิดโรคนี้ของเพศชายในครอบครัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
3. เซลล์ในต่อมลูกหมากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาที่ผิดปกติ ผู้ชายที่มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เนื้องอกในเยื่อบุผิวต่อมลูกหมากในระดับสูง จะมีอัตราการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
4. การบริโภค ผู้ชายที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสัตว์สูงบ่อยๆ มักจะเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ง่าย
5. ระดับแอนโดรเจน (Androgen) แอนโดรเจนในร่างกายจะช่วยกระตุ้นให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

อาการ
1. อาการอุดตัน เกิดความลำบากในการปัสสาวะ ปัสสาวะขัด เกิดความเจ็บปวด ปัสสาวะเป็นเลือดหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นต้น
2. อาการแทรกซึมเฉพาะส่วน บริเวณช่องว่างระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับลำไส้จะถูกแทรกซึมก่อน ซึ่งบริเวณนี้ครอบคลุมไปถึงต่อมลูกหมาก ถุงน้ำอสุจิ ท่อน้ำอสุจิ ส่วนปลายล่างของท่อปัสสาวะ เป็นต้น ถ้าเนื้องอกลุกล้ำและกดทับไปยังท่อน้ำอสุจิก็จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดเอวและมีอาการเจ็บปวดบริเวณด้านข้างของต่อมลูกหมาก
3.อาการแพร่กระจายอื่นๆ มะเร็งต่อมลูกหมากมักจะแพร่ไปยังกระดูกได้ง่าย โดยในช่วงแรกจะไม่ปรากฏอาการใดๆ และเมื่อไปพบแพทย์เนื่องจากการลามไปที่กระดูกจะทำให้กดทับเส้นประสาทหรือกระดูกหักก็จะพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

วิธีการวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก
1. การตรวจทางทวารหนัก
2. การตรวจค่า Prostate-Specific Antigen (PSA) Test
3. การตรวจ Acid phosphatase test
4. การตรวจอัลตราซาวด์
5. การตรวจเอกซเรย์
6. การตรวจชิ้นเนื้อ
7. การตรวจ CT และ MRI
รูปภาพ
ระยะของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
ระยะที่ 1 มะเร็งต่อมลูกหมากระยะนี้จะไม่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจทางทวารหนัก หรือ อัลตราซาวด์แต่มักตรวจพบโดยบังเอิญจากการผ่าตัดรักษาโรคอื่น เช่น โรคต่อมลูกหมากโต เป็นต้น ลักษณะเซลล์จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก (Grade 1)
ระยะที่ 2 ระยะนี้เซลล์มะเร็งยังคงอยู่เฉพาะในต่อมลูกหมาก แต่ลักษณะเซลล์จะมีความเปลี่ยนแปลงมากกว่า ระยะที่ 1 อาจตรวจพบได้จากการตรวจทางทวารหนัก หรือ อัลตราซาวด์
ระยะที่ 3 ระยะนี้เซลล์มะเร็งจะมีการแพร่กระจายออกนอกต่อมลูกหมาก เช่น ไปยังท่ออสุจิ แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง
ระยะที่ 4 ระยะนี้เซลล์มะเร็งมีการลุกลามไปยังกระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ตรง ต่อมน้ำเหลือง กระดูก หรือ อวัยวะอื่นๆ

การรักษา
1. การผ่าตัด วิธีการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากโดยการผ่าตัดนั้นเป็นวิธีรักษาที่ใช้กันมากที่สุด โดยผ่าตัดส่วนที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากออกไปหรือตัดต่อมลูกหมากทิ้ง เพื่อยับยั้งและควบคุมการแพร่กระจายของมะเร็ง
2. การฉายรังสี การรักษาโดยการฉายรังสีนั้นโดยหลักแล้วมีดังนี้
1. ฉายรังสีนอกร่างกาย
2. ฉายรังสีภายในเนื้อเยื่อ โดยมักจะใช้ร่วมกับการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากแบบถอนรากถอนโคนหรือการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองกระดูกเชิงกราน
3. การฉายรังสีทั้งร่างกาย สามารถลดความเจ็บปวดในส่วนที่ลุกลามไปยังกระดูกและลดการพัฒนาของเซลล์มะเร็งได้
3.การรักษาทางเคมีบำบัด เป็นการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากโดยใช้ยาเคมีทั่วร่างกาย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในควบคุมการแพร่กระจายและการลุกลามของเซลล์มะเร็ง
4.การรักษาแบบแพทย์แผนจีน การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากโดยแพทย์แผนจีน ด้านหนึ่งสามารถกำจัดและควบคุมเซลล์มะเร็ง บรรเทาอาการของโรค ส่วนอีกด้านหนึ่งคือสามารถปรับสมดุลร่างกายของผู้ป่วย ปรับการรักษาและอาการของโรคให้ดีขึ้น เพิ่มสมรรถนะของภูมิคุ้มกันในร่างกาย จึงเป็นการยกระดับผลการรักษาทั้งหมด
5.การรักษาแบบภายในเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือด เป็นเทคโนโลยีการรักษามะเร็งแบบใหม่ มีข้อดี เช่น บาดแผลเล็ก เจ็บปวดน้อย เสียเลือดน้อย ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว เป็นต้น

วิธีการฟื้นฟูร่ายกายจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
1. ดูแลด้านการฟื้นฟูสภาพจิตใจ ช่วยผู้ป่วยลดความอึดอัดใจและความกังวลใจ ให้กำลังใจผู้ป่วยให้มีจิตใจเปิดกว้าง มีความเด็ดเดี่ยวและแน่วแน่ในการที่จะเอาชนะกับโรค
2. ดูแลทางด้านโภชนาการและลำไส้ เพื่อลดอาการท้องผูกที่จะเกิดขึ้นหลังการผ่าตัด จึงควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารรสอ่อน ย่อยง่าย อีกทั้งรับประทานผลไม้หรือผักต่างๆ ที่มีส่วนประกอบของไฟเบอร์สูง ดื่มน้ำมากๆ ขับถ่ายตอนเช้าทุกวัน เพื่อให้สามารถขับถ่ายได้อย่างสะดวก ห้ามทานของเผ็ดหรือมีรสจัด เพื่อป้องกันไม่ให้ท้องผูก
3. ดูแลรักษาการหดเกร็งของกระเพาะปัสสาวะ เมื่อกระเพาะปัสสาวะหดเกร็ง ควรสูดลมหายใจลึกๆรวมทั้งให้คนในครอบครัวช่วยนวดแขนขาเพื่อลดอาการเจ็บปวด อาการนี้มักจะเกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัด ดังนั้นควรให้ยาบรรเทาอาการปวดแก่ผู้ป่วยเพื่อช่วยบรรเทาอาการ นอกจากนี้ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอยังมีส่วนช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู จึงควรวางแผนการพักผ่อนให้ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม อีกทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมในการพักผ่อนให้แก่ผู้ป่วยอีกด้วย

ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล อ้อมน้อย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 1792 กด 2
Webmaster
Vichaivej International Hospital Omnoi

Call: 02 431 0070 press 1150
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ศูนย์โรคกระดูกและข้อ, ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง,ผ่าตัดผ่านกล้อง, ศัลยกรรมผ่านกล้อง,กระดูกและข้อ, ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉิน, ศูนย์สุขภาพ, โรงพยาบาลชั้นนำ, เวชศาสตร์การกีฬา, ตรวจสุขภาพ, ศัลยกรรมความงาม, พบแพทย์, เส้นเลือดขอด, เส้นฟอกไต
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ภาพประจำตัวสมาชิก
vichaivej_admin
Administrator
 
โพสต์: 92
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 04 ม.ค. 2556 2:27 pm

ย้อนกลับไปยัง ความรู้สุขภาพกับวิชัยเวชฯ อ้อมน้อย

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน

cron